วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.สำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation)
  ในการสำรวจเบื้องต้นในการทำเพจเฟซบุ๊ค และบล็อกเกอร์เป็นของตัวเองนั้น การที่เราจะหาข้อมูลมาลงมาอัพเดตข้อมูลสารสนเทศต่างๆ นั้นจะต้องลงไปหาข้อมูลจากพื้นที่จริง ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าว่าเราสนใจเรื่องอะไรและจะไปลงพื้นที่ที่ไหน และในการลงพื้นที่แต่ละครั้งนั้นไม่ใช่ว่าจะราบลื่นตลอดเวลา มีปัญหาทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่เพียงพอ สิ่งอำนวยความสะดวกไม่มี และอาจเจอสภาพอากาศที่ไม่ดีได้อีกด้วย ทำให้การที่เราจะต้องลงพื้นที่ไปหาข้อมูลสารสนเทศต่างๆ นี้ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า
2.วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis)
   ความต้องการของผู้ใช้ผู้ที่เข้ามาชมเพจของเรานั้น ส่วนมากจะสนใจเกี่ยวกับการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่าอย่างอื่น จุดเด่นของทางเพจจะมีการอัพเดตข่าวสารอาทิตย์ละมี 1 ครั้ง เกี่ยวกับการอัพสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้มีผู้ใช้เข้ามาดูเป็นจำนวนนึง ส่วนจุดด้อยการอัพเดตข่าวสารทางเพจแต่ละเรื่องให้ข้อมูลน้อยเกินไป จึงต้องนำส่วนนี้มาปรับปรุงให้ข้อมูลสารสนเทศแก่ผู้ใช้มากกว่านี้ และทางเพจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักจะต้องโปรโมทเพจผ่านสื่อทุกช่องทางให้คนได้รู้จักและเข้ามาติดตามเพจ
3.การออกแบบระบบ (System Design)
   ระบบทางเพจ และบล็อกเกอร์ นั้นสามารถให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวิดีโอ มีการออกแบบระบบที่น่าสนใจให้ผู้เข้าใช้งานได้เข้ามาดู และระบบทางเพจ และบล็อกเกอร์ยังให้ข้อมูลแบบสาธารณะทำให้ผู้เข้ามาชมและติดตามเพจของเราสามารถคอมเมนต์และแชร์ข้อมูลนั้นได้
4.จัดหาอุปกรณ์ (System Acquisition)
   4.1 Software
       -เครื่องคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค
       -อุปกรณ์ถ่ายภาพสามารถใช้งานได้จริง เช่น โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องหลัง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล

   4.2 Hardware
       -แอพพลิเคชั่นต่างๆ บล็อกเกอร์ ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค
       -เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพ็คเก็ตอินเทอร์เน็ต หรือWIFI
       -บราวเซอร์ที่สามารถเข้าใช้งาน www ได้
5.ติดตั้งและบำรุงรักษา (System Implement and Maintenance)

   ระบบการอัพเดตทางเพจเฟซบุ๊คและบล้อกเกอร์มีการอัพเดตสารสนเทศทุกสัปดาห์ มีการอัพข้อความ      บนทวิตเตอร์ทุกวัน การอัพเดตแอพพลิเคชั่นต่างๆ เหล่านี้เป็นไปตามตารางงานที่ได้จัดเตรียมไว้                 และข้อมูลที่อัพเดตนั้นเป็นข้อมุลสาธารณะสามารถให้ผู้ใช้เข้ามาแสดงความคิดเห็น แชร์ และนำไปใช้ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น