วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

แหล่งท่องเที่ยว : ป่าหินลานมันปลา
 เป็นโขดหินทรายที่สลับซับซ้อน เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2,000 ไร่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสัตว์ป่า
ที่ตั้ง : บ้านภูตะคาม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร




วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยก้านเหลือง



สถานที่ตั้ง 
                ตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

รายละเอียดโครงการ 
                ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ส่งผลให้ราษฎรได้มีน้ำสำหรับใช้เพื่ออุปโภคบริโภคและครอบคลุมพื้นที่การเกษตร

ประเภทโครงการ 

                 โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หอส่องดาว อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก บริเวณที่ตั้งหอเป็นจุดสูงสุดของภูผาเหล็ก จากหอส่องดาวสามารถเดินต่อไปยังผาดงก่อ ซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ ถ้าขึ้นไปบนหอส่องดาวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้รอบด้านได้เกือบ 360 องศา หอส่องดาวแห่งนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาดวงดาวในเวลากลางคืน และชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้ชัดเจนมาก และทุกครั้งที่มีปรากฏการณ์ฝนดาวตก ผู้ที่สนใจก็จะมาจองพื้นที่เป็นจำนวนมาก


 หอส่องดาว

จุดชมวิวบริเวณหอส่องดาว

จุดชมวิวบริเวณหอส่องดาว







วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.สำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation)
  ในการสำรวจเบื้องต้นในการทำเพจเฟซบุ๊ค และบล็อกเกอร์เป็นของตัวเองนั้น การที่เราจะหาข้อมูลมาลงมาอัพเดตข้อมูลสารสนเทศต่างๆ นั้นจะต้องลงไปหาข้อมูลจากพื้นที่จริง ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าว่าเราสนใจเรื่องอะไรและจะไปลงพื้นที่ที่ไหน และในการลงพื้นที่แต่ละครั้งนั้นไม่ใช่ว่าจะราบลื่นตลอดเวลา มีปัญหาทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่เพียงพอ สิ่งอำนวยความสะดวกไม่มี และอาจเจอสภาพอากาศที่ไม่ดีได้อีกด้วย ทำให้การที่เราจะต้องลงพื้นที่ไปหาข้อมูลสารสนเทศต่างๆ นี้ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า
2.วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis)
   ความต้องการของผู้ใช้ผู้ที่เข้ามาชมเพจของเรานั้น ส่วนมากจะสนใจเกี่ยวกับการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่าอย่างอื่น จุดเด่นของทางเพจจะมีการอัพเดตข่าวสารอาทิตย์ละมี 1 ครั้ง เกี่ยวกับการอัพสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้มีผู้ใช้เข้ามาดูเป็นจำนวนนึง ส่วนจุดด้อยการอัพเดตข่าวสารทางเพจแต่ละเรื่องให้ข้อมูลน้อยเกินไป จึงต้องนำส่วนนี้มาปรับปรุงให้ข้อมูลสารสนเทศแก่ผู้ใช้มากกว่านี้ และทางเพจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักจะต้องโปรโมทเพจผ่านสื่อทุกช่องทางให้คนได้รู้จักและเข้ามาติดตามเพจ
3.การออกแบบระบบ (System Design)
   ระบบทางเพจ และบล็อกเกอร์ นั้นสามารถให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวิดีโอ มีการออกแบบระบบที่น่าสนใจให้ผู้เข้าใช้งานได้เข้ามาดู และระบบทางเพจ และบล็อกเกอร์ยังให้ข้อมูลแบบสาธารณะทำให้ผู้เข้ามาชมและติดตามเพจของเราสามารถคอมเมนต์และแชร์ข้อมูลนั้นได้
4.จัดหาอุปกรณ์ (System Acquisition)
   4.1 Software
       -เครื่องคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค
       -อุปกรณ์ถ่ายภาพสามารถใช้งานได้จริง เช่น โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องหลัง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล

   4.2 Hardware
       -แอพพลิเคชั่นต่างๆ บล็อกเกอร์ ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค
       -เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพ็คเก็ตอินเทอร์เน็ต หรือWIFI
       -บราวเซอร์ที่สามารถเข้าใช้งาน www ได้
5.ติดตั้งและบำรุงรักษา (System Implement and Maintenance)

   ระบบการอัพเดตทางเพจเฟซบุ๊คและบล้อกเกอร์มีการอัพเดตสารสนเทศทุกสัปดาห์ มีการอัพข้อความ      บนทวิตเตอร์ทุกวัน การอัพเดตแอพพลิเคชั่นต่างๆ เหล่านี้เป็นไปตามตารางงานที่ได้จัดเตรียมไว้                 และข้อมูลที่อัพเดตนั้นเป็นข้อมุลสาธารณะสามารถให้ผู้ใช้เข้ามาแสดงความคิดเห็น แชร์ และนำไปใช้ได้ 
ภาพเขียนสีผาผักหวาน  
ตั้งอยู่ที่บ้านภูตะคาม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
ตัวภาพเขียนอยู่บนผนังด้านหนึ่ง ของก้อนหินทรายขนาดใหญ่ สูงจากพื้นดินถึงยอดประมาณ ๑๒ เมตร  ขนาดกว้างยาว 17 x 12 x 11 x 8 เมตร   ตัวภาพเขียนอยู่บนผนังด้านทิศตะวันออก สูงจากพื้นประมาณ ๕ เมตร    เป็นภาพเขียนด้วยสีแดง เป็นภาพคน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ด้านบน เขียนเป็นภาพคนแบบระบายทึบ  เป็นภาพคนไว้ผมบ๊อบ กางขาและย่อตัวเล็กน้อย แขนชูขึ้นเป็นวงโค้ง มือกางออก   สันนิษฐานว่าเป็นวาทยากร  กำกับการเต้นระบำของกลุ่มคนด้านล่าง ที่วาดเป็นรูปคนแบบเขียนโครงร่างภายนอก จำนวน ๘ คน ยืนเรียงแถวกัน ๕ คน หันด้านข้างไปทิศทางเดียวกัน อากัปกิริยาคล้ายต่อแถวเต้นรำ คือ ย่อตัว ก้นโด่ง แล้วยกแขนไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน คงจะฉับไวเพราะผมที่ผูกไว้ด้านหลังกระดกขึ้นลง  ภาพคนทั้ง ๒ กลุ่ม ใช้ช่องว่างในการจัดแบ่งภาพ  แสดงระยะใกล้ไกลของตำแหน่งคนในภาพ  คณะเต้นรำอยู่ด้านล่าง อยู่ใกล้  ส่วนวาทยกร อยู่ไกลออกไป  ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนไม่ซ้อนทับกัน

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560


โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ บ้านทรายทอง

ที่ตั้งโครงการ
        บ้านทรายทอง หมู่ที่ 11 ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร   

ความเป็นมาโครงการ
          24  ธันวาคม  2524  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมบ้านทรายทองได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากของราษฎรจึงทรงมีพระราชดำริให้เริ่มโครงการป่ารักษ์น้ำขึ้นโดยมุ่งหวังว่าจะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมรอบๆ หมู่บ้านและทรงเสด็จเยี่ยมบ้านทรายทองทั้งหมด 6 ครั้ง
แนวพระราชดำริ : 

          สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยราษฎรบ้านทรายทองที่ขาดที่พึ่งเมื่อสิ้นพระอาจารย์วัน อุตตโม ทรงมีพระเมตตารับราษฎรบ้านทรายทองเข้าเป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมศิลาชีพ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2524 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมราษฎรบ้านทรายทอง ทรงมีพระราชดำริให้เริ่มโครงการป่ารักน้ำขึ้นที่บ้านทรายทองเป็นแหล่งที่ 3 โดยมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมรอบๆ หมู่บ้าน ทรงชักชวนให้ราษฎรปลูกป่า จำนวน 90 ไร่ ปลูกต้นไม้จำนวน 24,000 ต้น ต้นไม้ที่ปลูก ได้แก่ ไม้แดง ไม้นนทรี ไม้ขี้เหล็ก ไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินยักษ์ เป็นต้น ทรงคัดเลือกราษฎรมาดูแลป่า จำนวน 33 ครอบครัว และพระราชทานเงินเดือนให้ครอบครัวละ 1,500 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 ปี ต่อจากนั้นทรงส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เลี้ยงไก่ และพระราชทานธนาคารข้าวประจำหมู่บ้าน เมื่อ พ.ศ. 2532 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้โครงการส่งเสริม  ศิลปาชีพจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมขึ้น จำนวน 30 ไร่ เพื่อพระราชทานแก่ราษฎรบ้านทรายทองไว้ เพื่อปลูกหม่อนเลี้ยงไหม


พระราชดำริโครงการ
          สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

วัตถุประสงค์
          เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวราษฎรสามารถทำงานศิลปาชีพ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมจัดอบรมแก่สมาชิก รวมทั้งจัดหางานให้สมาชิกดำเนินการ เพื่อนำไปจำหน่าย เป็นรายได้เสริมของสมาชิก
 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเสด็จ 6 ครั้ง
          ครั้งที่ 1 เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2524 สมด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จโดยรถยนต์ พระที่นั่งทรงเยี่ยมบ้านทรายทอง และได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากของราษฎรจึงทรงมีพระราชดำริให้เริ่มโครงการป่ารักน้ำขึ้นที่ บ้านทรายทอง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งที่ 3 โดยมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมรอบๆ หมู่บ้าน
          ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๙ พ.ย.๒๕๓๕  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งทรงเยี่ยมราษฎรบ้านทรายทองและทรงมีพระบรมราชานุญาติ ให้โครงการฯ บ้านทรายทองซื้อที่ดินเพิ่มขึ้น จำนวน ๓๐ ไร่ เพื่อพระราชทานแก่ราษฎรบ้านทรายทองไว้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
          ครั้งที่ ๓ เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงเสด็จเยี่ยมบ้านทรายทองโดย ฮ. พระที่นั่ง ได้สนับสนุนงบประมาณจาก ศปร.ทภ.๒ เพื่อจัดทำโครงการพัฒนายกระดับรายได้ให้กับราษฎรบ้านทรายทองโดย  ดำเนินการก่อสร้างโรงเลี้ยงไหม, โรงสีข้าวขนาดกลาง, ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน,เครื่องสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ และถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.๓๓ จนโครงการพัฒนาขึ้นตามลำดับ
          ครั้งที่ ๔ เมื่อ ๒๔ พ.ย.๒๕๔๕ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมฯ โอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร เสด็จทอดพระเนตรลำห้วยยาม และทรงเยี่ยมราษฎรบ้านหนองม่วง หมู่ ๓ ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรส. รับซื้อผ้าไหมของสมาชิก  บริเวณสนามโรงเรียนบ้านหนองม่วง
          ครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๔ พ.ย.๒๕๔๖  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเสด็จโดย ฮ.พระที่นั่ง ทรงเยี่ยมราษฎร ที่โครงการฯ บ้านทรายทอง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรส. รับซื้อผ้าไหมของสมาชิก  บริเวณโครงการฯ บ้านทรายทอง
          ครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๘ ธ.ค.๒๕๔๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเสด็จโดย ฮ.พระที่นั่ง ทรงเยี่ยมราษฎรที่โครงการฯ  บ้านทรายทอง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร และทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้ กรส. รับซื้อผ้าไหมของสมาชิกบริเวณโครงการฯ บ้านทรายทอง และมีพระราชดำริ จัดตั้งฟาร์มตัวอย่างฯ ขึ้น

ผลการดำเนินการที่ผ่านมา
        กิจกรรมปี 2556
          - สนับสนุนค่าวัสดุสีเส้นไหม 1 กลุ่ม 10 ราย  งบประมาณ 5,000 บาท
        กิจกรรมปี 2557
          - ไม่ได้รับงบประมาณ
        กิจกรรมปี 2558
          - ฝึกอบรมหลักสูตรการฟอกย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ  10 ราย 2 วัน 7,500 บาท
          - สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การฟอกย้อมสีเส้นไหม 1 กลุ่ม 10 ราย 10,000 บาท
          - สนับสนุนวัสดุการฟอกย้อมสีเส้นไหม 1 กลุ่ม 10 ราย 5,000 บาท
          - ฝึกอบรมหลักสูตรการฟอกย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ 20 ราย 40,000 บาท
          - สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ 20 ราย 60,000 บาท
        กิจกรรมปี 2559
         - บุกเบิกพื้นที่ 30 ไร่ เพื่อปลูกหม่อนเป็นเงิน  60,000 บาท
         - มีเกษตรกรรวมกลุ่มกันจำนวน 18 ราย ต้องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
         - ปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมจำนวน 30 ไร่
         - สร้างโรงเลี้ยงไหมพร้อมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การสาวไหม งบประมาณ 190,125 บาท
         - จัดทำระบบน้ำในแปลงหม่อนใช้ประโยชน์ร่วมกัน งบประมาณ 30,000 บาท
         - ปรับภูมิทัศน์ ณ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯ งบประมาณ 22,000 บาท
         - จัดทำป้ายเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ งบประมาณ 10,000 บาท

ทำหม่อนไหม

ทำเครื่องจักรสาน

ซื้อขาย 


วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560



โรงเรียนส่องดาววิทยาคม



วิสัยทัศน์ 
       เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลในปี 2558

อัตลักษณ์
       โรงเรียนส่งเสริมวัฒนธรรม

เอกลักษณ์
        วัฒนธรรมเด่น เน้นคุณธรรม นำความรู้

ที่ตั้ง 
       หมู่ที่ 9 บ้านโนนสะอาด ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 47190
Tel. 042-786148

ประวัติความเป็นมา
      โรงเรียนส่องดาววิทยาคม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2518 โดยมีนายบุญเลิศ สาขามุละ เป็นผู้บริหารคนแรก ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในปีการศึกษาแรกได้อาศัยศาลาการเปรียญของ วัดป่าโนนสะอาด ตำบลส่องดาว เป็นที่เรียนในปีการศึกษาถัดมาได้ย้ายมา อยู่ที่ปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ในเนื้อที่ทั้งหมด 127 ไร่ 1 งาน 48.9    ตารางวา กรมสามัญศึกษา(เดิม)ได้จัดสรรอัตรากำลังอาคารเรียน อาคารประกอบให้ทางโรงเรียนดังรายการต่อไปนี้ 
     1. อาคารเรียนแบบ 216 ก (อาคาร 1) จำนวน 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียน ห้องพักครู ห้องสมุด ห้องพยาบาล ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องประชาสัมพันธ์ 
     2. อาคารโรงฝึกงาน 2 หลัง 3 หน่วย สร้างตามแบบ มพช. เป็นโรงฝึกงานอาคารเกษตร อาคารอุตสาหกรรมและอาคารคหกรรม โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้รับงบประมาณในโครงการโรงเรียนมัธยมพัฒนาชนบท (มพช.2 รุ่นที่ 1) 
     3. อาคารมูลนิธิ ฯ (อาคาร3) ได้รับเงินงบประมาณจากมูลนิธิพระอาจารย์วัน อุตตโม จัดสร้างตามแบบอาคารเรียน 208 เพื่อใช้เป็นที่พักของนักเรียน ซึ่งมีบ้านอยู่ห่างไกลจากโรงเรียนและมีปัญหาในการเดินทางกลับบ้าน งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) ได้มีพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2529 โดย พณ ฯ เชาว์ ณ ศิลวันต์ องคมนตรี ให้เกียรติมาเป็นประธาน ปัจจุบันโรงเรียนใช้เป็นอาคารดนตรี ศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและโรงอาหาร 
     4. อาคารหอประชุม 1 หลัง 
     5. บ้านพักครู 2 หลัง 
     6. อาคารหอพักผู้เรียน แบบ 35 คน 
    7. อาคารแบบ 324 ล /27 (อาคาร2) ใช้เป็นห้องเรียน ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องวิชาการ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องกลุ่มจริยธรรม ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมและห้องสมุด 
     8. ศาลาธรรม แบบ 8 เหลี่ยม